กลับ

การพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ระยะที่ 1)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความฉลาดทางสุขภาพและกรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมี ความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในการผลิตและบริโภคอาหารจากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของประชาชนและพัฒนาแนวทางการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพให้กับเกษตรกรผู้ผลิตอินทรีย์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยรายงานผลการศึกษาครั้งนี้ อยู่ในระยะที่ 1 ในขั้นตอนการศึกษาสถานการณ์ปัญหาและกำหนดแนวทางในการออกแบบการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพให้กับเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ในขั้นพื้นฐานและขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความฉลาดทางสุขภาพระดับขยายผลในภาพกว้างอยู่ในระดับน้อย ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษากับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันทั้งในเรื่องการป้องกันตนเอง ไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การศึกษามีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยพบว่า เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีความฉลาดทางสุขภาพสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.00 การอบรมการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรโดยพบว่า กลุ่มที่เคยอบรมจะมีความรู้ที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 การอบรมการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.005 การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.001 การอบรมการใช้สารเคมีไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกร ทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ค่าสัมประสิทธ์ p < .01 รายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรและความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และมีความสัมพันธ์ต่ำมากกับทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกร ที่ค่าสัมประสิทธิ์ p<.01 ปัจจัยหนุนเสริมและพัฒนาการการสร้างความฉลาดของเกษตรกรผู้ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ประกอบด้วย บริบทสังคม ความเชื่อ ทัศนคติ อายุ การแสวงหาความรู้ การฝึกอบรม สื่อ/หนังสือ การรับรู้ประโยชน์ต่อครอบครัวและต่อสุขภาพ การมีเครือข่ายเรียนรู้ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยข้อเสนอแนวทางการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ควรมีการสนับสนุนชุดความรู้และการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ตามประเภทของการผลิต สนับสนุนความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการ สร้างระบบรับรองคุณภาพ การสนับสนุนจากภาครัฐ การจัดตั้งเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในระดับตำบล การจำหน่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Empty Image